1.การทำแผนปฏิบัติการ (Effective Action Plan)
เมื่อองค์กร หน่วยงานมีเป้าหมาย สิ่งที่จะทำให้เป้าหมายนั้นบรรลุ คือ มีแผนปฏิบัติการเพื่อจะทำเป้าหมายแต่ละข้อนั้นสำเร็จ ซึ่งจะทำให้การดำเนินการต่างๆ มีแบบแผน ชัดเจน ไม่หลงทาง ประกอบกับ มีการตรวจสอบผลงาน เทียบกับตัวชี้วัดในระหว่างการดำเนินการ เพื่อสามารถแก้ไขปรับปรุงได้ทันท่วงทีหากเกิดความผิดพลาดจากเป้าปฏิบัติ
2.ช่วยในการบริหารต้นทุน ค่าใช้จ่าย (Budget Control)
เมื่อองค์กรหรือหน่วยงานมีแผนปฏิบัติการแล้ว องค์ประกอบสำคัญในแผนปฏิบัติการประการหนึ่งคือ เรื่องของการจัดทำงบประมาณเพื่อรองรับแผนปฏิบัติการ ทำให้เราประมาณการและจัดเตรียมค่าใช้จ่าย ที่จะดำเนินการตามแผนต่อไป
3.เพื่อการพัฒนาบุคลากร (Training Roadmap)
ในการจัดทำระบบบริหารผลงาน ผลของการทำระบบที่สำคัญส่วนหนึ่งคือ ระบบการประเมินผลงาน ซึ่งเราจะสามารถบอกได้ว่า ใครทำงานได้สูงกว่า ต่ำกว่า หรือ เท่ากับเป้าหมาย หรือมาตรฐานที่องค์กรต้องการ เมื่อทราบดังนั้นแล้ว เราก็จะสามารถวางแผนการจัดฝึกอบรม พัฒนาบุคลากรให้ตรงจุด ใครควรพัฒนาเรื่องอะไร ด้านใด เพื่อให้สามารถทำงานได้ตามเป้าหมายต่อไป
4.ความก้าวหน้า เติบโตของบุคคลากร (Career Path)
การประเมินผลงานนั้น เป็นเครื่องมือสำคัญทีใช้เป็นพื้นฐาน ในการวางระบบ ความก้าวหน้าของบุคลากร เพราะ ถ้าเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน ของแต่ละตำแหน่งงาน ว่าตำแหน่งอะไรต้องมีความสามารถทำผลงานให้กับองค์กรเท่าใด และยิ่งถ้าใช้ประกอบการการประเมินค่างาน (Job Evaluation) การจัดระบบโครงสร้างองค์กร (Organization Structure) ด้วยแล้ว ยิ่งสามารถบอกเส้นทางการเติบโตของคนในองค์กรได้ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้บุคลากรอยู่กับองค์กรนานขึ้น ตั้งใจทำงานกับองค์กรมากขึ้น
5.เพื่อทำระบบผลตอบแทน บุคลากร (Compensation)
เป็นที่แน่นอนว่าส่วนใหญ่ในการประเมินผลงานนั้น นำไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อจ่ายผลตอบแทนให้กับพนักงาน แต่ยังหลายคนเข้าใจผิดว่า การจ่ายผลตอบแทนนั้น ขึ้นอยู่กับการประเมินผลงานเพียงอย่างเดียว ยังมีเรื่องของ การปฏิบัติกฎระเบียบบริษัท การปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบ การปฏิบัติตามระบบคุณภาพต่างๆ ผลงานของทีม และผลประกอบการขอบบริษัทด้วย ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็จะนำมาเป็นตัวปรับเพิ่มหรือลด จากผลการประเมินอีกขั้นตอนหนึ่งด้วย
6.ใช้พิจารณาเลื่อนตำแหน่ง (Promotion)
ผลงานเป็นตัวบ่งบอกความสามารถ เมื่อบุคลากร คนใดมีศักยภาพเพิ่มขึ้น ก็เป็นข้อบ่งบอกระดับหนึ่งว่าเขาสามารถ รับผิดชอบหรือรับภาระหน้าที่ที่สูงขึ้นได้ การประเมินผลงานที่มีประสิทธิภาพ จึงใช้เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งที่เป็นธรรมที่สุด แต่อย่าลืมว่าก่อนจะปรับตำแหน่งโยกย้ายต่างๆ ควรมีการพูดคุยกับพนักงานคนนั้นก่อนเสมอ เพราะสิ่งที่ผู้บริหารเห็นสมควรว่าเป็นคุณกับเขา คนๆนั้นอาจไม่ต้องการตำแหน่งนั้นๆก็เป็นได้
7.ใช้ในการพัฒนาระบบการทำงาน (Work Improvement)
การประเมินผลงานของหน่วยงานหรือบุคลากร จะเป็นตัวบ่งบอกว่า หน่วยงานไหน หรือบุคลากรคนใด ต้องพัฒนาเรื่องอะไร ดังนั้นการประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ก็จะนำไปสู่การพัฒนาระบบการทำงาน (Work Improvement) และ การพัฒนาบุคลากร (People Development) ได้อย่างเป็นระบบ ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ
แล้วพบกันในตอนต่อไปครับ
|